CSR คืออะไร

ทำความรู้จัก CSR คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงควรทำ?

ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนกลับมาให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น จึงทำให้กิจกรรมที่มีชื่อว่า CSR ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการรับชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรโดยไม่แสวงหาผลกำไร แต่อาจมีคนบางกลุ่มที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม CSR ซึ่งวันนี้ภัสสรชัยทัวร์จะพามาทำความรู้จักกันแบบเชิงลึกว่าแท้จริง CSR นั้นคืออะไร? ส่งผลดีต่อสังคมและภายนอกองค์กรอย่างไร?

ความหมายของ CSR คืออะไร?

CSR หรือที่ย่อมามาก Corporate Social Responsibility ซึ่งสามารถแยกความหมายได้ดังนี้ corporate หมายถึง การจัดกิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร social หมายถึงสังคม ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ขึ้นอยู่กับว่ากิจกรรมนั้นต้องการพัฒนาสังคมไปในทิศทางใด responsibility หมายถึงความผิดชอบ ทั้งในด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดีต่อการดำเนินธุรกิจ เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ดังนั้น CSR จึงมีความหมายโดยรวมว่า การความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กรโดยไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน


CSR แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

โครงการ CSR แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

CSR เป็นโครงการที่มีทั้งแบบทำโดยความตั้งใจและกิจกรรมที่ทำตามข้อกำหนด ซึ่งสามารถแบ่งความเข้มข้นออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ 1 Mandatory Level

ข้อกำหนดตามกฎหมาย คือ การที่องค์กร หรือธุรกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายแรงงาน และการจ่าภาษีเป็นต้น

ระดับ 2 Elementary Level

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร และให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งผลกำไรที่ได้รับมานั้นจะต้องมิใช่กำไรมาจากการเบียดเบียนสังคม

ระดับ 3 Preemptive Level

จรรยาบรรณด้านธุรกิจ คือการทำธุรกิจโดยสามารถสร้างผลกำไรแก่ผู้ถือหุ้นได้ในอัตราที่เหมาะสม และผู้ประกอบธุรกิจให้ความใส่ใจให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคมที่อยู่รอบข้าง ที่ควรได้รับความเอาใจใส่จากผู้ประกอบธุรกิจ

ระดับ 4 Voluntary Level

ความสมัครใจ คือการดำเนินธุรกิจ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามแนวทางของกิจกรรม CSR บนพื้นฐานการมุ่งประโยชน์ของสังคมเป็นสำคัญ เพื่อการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกเรียกร้องจากสังคม


CSR แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

CSR มีกี่ประเภท

CSR สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

  1. ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม
    ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Corporate Social Responsibility เป็น CSR ประเภทที่หลายๆองค์กรมีการมุ่งเน้นด้านนี้มากที่สุด เพื่อลดการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในบางประเทศถึงขั้นมีกฎหมายให้ธุรกิจรายงานเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการกำจัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการการผลิตขององค์กรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม
    ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม Ethical Corporate Social Responsibility เป็น CSR ประเภทการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมด้านจริยธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านธุรกิจ ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมโดยการจัดทำโปรแกรม CSR เพื่อพนักงานไปจนถึงผู้บริโภคที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทของคุณได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรรายย่อยถูกเอารัดเอาเปรียบ ภายใต้ข้อตกลงที่ยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  3. ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการกุศล
    ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านการกุศล (Philanthropic Corporate Social Responsibility) เป็น CSR ที่เน้นการแบ่งปันหรือการบริจาคเงินให้องค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อการกุศล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอีกด้วย อาทิเช่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสร้างอาชีพให้กับท้องถิ่น หรือการจัดกิจกรรมสร้างศูนย์การเรียนรู้ในชุมชน การสร้างห้องสมุดให้หมู่บ้าน หรือการสนับสนุนกิจกรรมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เป็นต้น
  4. ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านอาสาสมัคร
    ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านอาสาสมัคร (Philanthropic Corporate Social Responsibility) เป็น CSR อีกประเภทหนึ่ง ที่จะแสดงให้เห็นถึงความจริงใจ ใส่ใจ ขององค์กรที่มีต่อสังคม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเภท CSR ที่ธุรกิจและองค์กรต่างๆ มุ่งเน้นให้ความสำคัญ โดยการสละเวลาทุกคนในองค์กร ทั้งพนักงานและผู้นำเพื่อทำความดีในส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน แต่ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านอาสาสมัครจะต้องมีความสม่ำเสมอ และมีระยะเวลาที่จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่กิจกรรมที่สร้างภาพ เพราะจะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อองค์กรได้ในระยะยาว

หลักการและแนวคิดของ CSR

หลักการและแนวคิดของ CSR

  1. การประกอบธุรกิจและดูเเลกิจการที่ดี
  2. การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม มีความยุติธรรม
  3. มีความเคารพสิทธิและการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม
  4. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
  5. มีความใส่ใจดูเเลรักษาสิ่งเเวดล้อม
  6. มีการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
    มีการเปิดเผยข้อมูลด้านสังคมและสิ่งเเวดล้อม
  7. มีการเผยแพร่กิจกรรมที่รับผิดชอบต่อสังคม

ตัวอย่างกิจกรรม CSR

ตัวอย่างกิจกรรม CSR มีอะไรบ้าง

  1. การส่งเสริมประเด็นสังคม (Cause Promotion) เป็นกิจกรรม ที่ช่วยหส่งเสริมเหลือหรือส่งเสริมสังคมในด้านทุนทรัพย์และทรัพยากร เช่น การจัดแคมเปญส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสถานที่ทำงาน เป็น
  2. การตลาดเพื่อแก้ปัญหาสังคม (Corporate Social Marketing) เป็นกิจกรรมการตลาดของธุรกิจที่จะช่วยสนับสนุน มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านประเด็นสังคม เช่น แคมเปญรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงในครอบครัว
  3. การตลาดที่เกี่ยวโยงกับประเด็นสังคม (Cause-Related Marketing) เป็นการทำการตลาดที่มีส่วนช่วยสังคม โดยการนำยอดขายไปสมทบหรือบริจาคให้กับหน่วยงาน/มูลนิธิต่าง ๆ เช่น การสมทบทุนให้กับโรงพยาบาล เป็นต้น
  4. การบริจาคเพื่อการกุศล (Corporate Philanthropy) เป็นกิจกรรมการบริจาคทั้งทุนทรัพย์หรือปัจจัยสิ่งของเพื่อช่วยเหลือสังคมจากสถานการณ์ ต่างๆ เช่น บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
  5. การประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Business Practices) เป็นการการดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรม มีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสังคมล้อมและชุมชน เช่นหลีกเลี่ยงวัตถุดิบการผลิตที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเป็นต้น
  6. การพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการตามกำลังซื้อของคนในระดับฐานราก (Developing and Delivering Affordable Products and Services) เป็นการดำเนินธุรกิจโดยตั้งราคาสมเหตุสมผล กับกำลังซื้อของผู้บริโภค เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
  7. การอาสาช่วยเหลือชุมชน (Community Volunteering) เป็นกิจกรรม CSR ที่เชิญชวนให้พนักงานสละเวลาส่วนตัวเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม โดยกาาร่วมทำกิจกรรมชุมชน ห่วยงานภาครัฐ และเอกชน ซึ่งในปัจจุบันมี 14 โครงการจิตอาสาจิตอาสาที่ได้รับความนิยม อาทิเช่น กิจกรรมทำแนวกั้นไฟป่า กิจกรรมเก็บขยะในแม่น้ำ เป็นต้น

สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานที่ต้องการเดินทางไปจัดกิจกรรม หรือทำโครงการ CSR สามารถเลือกใช้บริการเช่ารถบัส ของ Patsornchai Tour ได้ เรามีรถบัสเช่าหลากหลายขนาดที่มีสมรรถนะสูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน พร้อมพนักงานขับรถบัสที่ผ่านการอบรมและเชี่ยวชาญการเดินรถ ที่จะพาคุณถึงจุดหมายปลายทางเพื่อไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย


ประโยชน์และความสำคัญของ CSR

ประโยชน์และความสำคัญของ CSR

โครงการ CSR เป็นกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยไม่แสวงหาผลกำไร และในขณะเดียวกัน องค์กรหรือธุรกิจก็ยังได้รับรับประโยชน์ในหลายๆ ด้าน เช่น

  1. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้องค์กร ในด้านการสนับสนุน ช่วยเหลือสังคม และพัฒนาชุมชน
  2. ลดค่าใช้จ่ายในด้านการทำสื่อโฆษณา เพราะสังคมจะรู้จักองค์กรได้จากการบอกต่อ
  3. ช่วยสร้างจุดแข็งให้บริษัทเหนือคู่แข่ง ด้วยภาพลักษณ์ที่ดี
  4. ทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย และมีแนวโน้มที่จะได้รับการตอบรับที่ดี
  5. ทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำในด้านที่ดีของผู้บริโภค
  6. ทำให้บริษัทหรือองค์กรเติบโตด้วยแรงสนับสนุนของคนในสังคม
  7. ส่งผลให้มูลค่าหุ้นที่สูงขึ้น ซึ่งถือเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น
  8. สร้างความสุขและความภาคภูมิใจให้กับพนักงานในการทำงานร่วมกับองค์กร

Q&Aอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ CSR

Q&Aอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ CSR

บริษัทขนาดเล็กจำเป็นต้องมี CSR หรือไม่

CSR นั้นมีหลายด้าน โดยปรับให้เหมาะกับลักษณะธุรกิจและทรัพยากรของบริษัท เช่น การดูแลเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานในการทำงาน การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาพนักงาน มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค รวมถึงการร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม ซึ่งทักๆบริษัทพึงมีอยู่แล้ว

CSR ทำเพื่ออะไร

CSR เป็นการดำเนินธุรกิจ ที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยการดำเนินธุรกิจภายใต้ ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นในการบริหารกิจการให้มีผลกำไร สามารถขยายกิจการให้เจริญเติบโตเป็นที่ยอมรับของสังคมและชุมชน

การบริจาคถือเป็น CSR หรือไม่

การบริจาคถือเป็น CSR แบบหนึ่ง แต่ผลที่ได้อาจไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากไม่ได้ช่วยให้ผู้รับสามารถพึ่งตนเองได้ในระยะยาว เมื่อเทียบกับการสอนอาชีพให้แก่คนชุมชน ที่ช่วยให้คนในชุมชนมีอาชีพเลี้ยงตัวเองต่อไปได้ในระยะยาว

CSR มีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร

CSR มีความสำคัญกับองค์กร เนื่องจากองค์กรจะไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นและยั่งยืน หากไม่มีสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย ดังนั้นการรักษาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม จึงเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะทำให้องค์กรสามารถทำงานต่อไปได้ในระยะยาว แม้จะเสียกำไรในระยะสั้น


corporate social responsibility

สรุป

CSR ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการบังคับทางกฎหมาย แต่องค์กรส่วนมากก็ให้ความสำคัญเรื่องความรับผิดชอบทางสังคม เพราะเป็นการกระตุ้นให้พนักงานทำดี และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งหลายๆกิจกรรม CSR ของบริษัทจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเสียเงินในการทำโฆษณา เนื่องจากได้รับการบอกต่อในชุมชนและสังคม ซึ่งใบปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่ามีกลุ่มคนจำนวนมากที่เลือกหาเฉพาะสินค้าจากองค์กรที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นหากองค์กรมีการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะสามารถดึงดูดลูกค้า และสามารถเรียบเรียงความต้องการของลูกค้าและการกระทำขององค์กรให้ตรงกันได้

อ้างอิงข้อมูล.

Jason Fernando. (july 18, 2023). Corporate Social Responsibility (CSR) Explained With Examples.
https://www.investopedia.com/terms/c/corp-social-responsibility.asp

What is corporate social responsibility (CSR)?
https://www.bdc.ca/en/articles-tools/entrepreneur-toolkit/templates-business-guides/glossary/corporate-social-responsibility

Indeed Editorial Team. (August 29, 2023). 4 types of corporate social responsibility and its benefits.
https://uk.indeed.com/career-advice/career-development/types-of-corporate-social-responsibility